วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว






ชื่อ:  นาย อรรนพ  คงศรีสมบัติ

ชื่อเล่น:  เมฆ

ชั้น :  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/3

สถานที่เกิด : โรงพยาบาล วชิระภูเก็ต

โรงเรียน : ตะกั่วป่าเสนานุกูล

อายุ : 17 ปี

เกิด : 28 มกราคม 2540

เบอร์โทร : 0916529070

อีเมล์ :  windcoolza@gmail.com

บ้านเลขที่ :  67/1 ม.1  ต.ท่านา อ.กะปง จ.พังงา

พี่น้อง : มีพี่น้องหนึ่งคนเป็นน้อง




















ประเภทของจิตรกรรม

ประเภทของจิตรกรรม
                   จำแนกได้ตามลักษณะผลงานที่สิ้นสุด และ วัสดุอุปกรณ์การสร้างสรรค์เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาด และ ภาพเขียน
                  1.) จิตรกรรมภาพวาด (Drawing) เรียกเป็นศัพท์ทัศนศิลป์ภาษาไทยได้หลายคำ คือ ภาพวาดเขียน ภาพ  วาดเส้น หรือบางท่านอาจเรียกด้วยคำทับศัพท์ว่า ดรอวิ้ง(Drawing) ก็มี ปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเขียนภาพและวาดภาพ ที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากมาใช้ ผู้เขียนภาพจึงจึงอาจจะใช้อุปกรณ์ต่างๆมาใช้ในการเขียนภาพ ภาพวาดในสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                             1.1 ภาพวาดลายเส้น
                             1.2 การ์ตูน

                   -                  
                    2.) จิตรกรรมภาพเขียน (Painting) ภาพเขียนเป็นการสร้างงาน 2 มิติบนพื้นระนาบด้วยสีหลายสีซึ่งมักจะต้องมีสื่อตัวกลางระหว่างวัสดุกับอุปกรณ์ที่ใช้เขียนอีก ซึ่งกลวิธีเขียนที่สำคัญ คือ
                      1.การเขียนภาพสีน้ำ (Colour Painting)
                      2.การเขียนภาพสีน้ำมัน (Oil Painting)
                     3.การเขียนภาพสีอะคริลิค (Acrylic Painting)
                     4.การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง (Fresco Painting)
                     5.จิตรกรรมแผง(Panel Painting)

ภาพ โมนาลิซา
เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก
ลักษณะของภาพจิตรกรรม งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
           1.ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่ 

 


       2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
              2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความ เหมือนของใบหน้า
            2.2 ภาพคนเหมือน(Potrait)เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคนหนึ่ง


 

     3. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ
                  3.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )
                  3.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape)
                  3.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape




4. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย 

 

  5. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาตินาๆ ชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่ 

 

    6. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้ เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ 

จิตรกรรม

จิตรกรรม (อังกฤษ : painting)
              จิตรกรรม (อังกฤษ : painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ
               จิตรกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบด้วยวิธีการลาก การระบายสีลงบนพื้นผิววัสดุที่มีความราบเรียบ เช่นกระดาษ ผ้าใบ แผ่นไม้ เป็นต้น เพื่อให้เกิดเรื่องราวและความงามตามความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการของผู้วาด

ประติมากรรม

ประติมากรรม (Sculpture)

เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่ เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ
1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น

2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)
4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร
ประเภทของงานประติมากรรม
1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ

คุณสมบัติของสีโปสเตอร์

 คุณสมบัติของสีโปสเตอร์ 
      
           สีโปสเตอร์  เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด  การใช้งานเหมือน กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี เนื้อเรียบได้ และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค สามารถระบายสีทับกันได้  มักใช้ในการวาดภาพ ภาพประกอบเรื่อง ในงานออกแบบ ต่างๆ ได้สะดวก ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว

คุณสมบัติของสีน้ำ

คุณสมบัติของสีน้ำ 

           ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำก็คือ ความโปร่งใส ( Transparent ) เวลาระบายใช้พู่กันแตะสีละลายกับน้ำ ระบายบนกระดาษขาว พยายามระบายไปครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีต่างๆ ซ้ำหรือทับกันหลายหน เพราะจะทำให้สีหม่นขาดคุณสมบัติโปร่งใส และควรรักษาให้พู่กันสะอาดอยู่เสมอเมื่อต้องการเปลี่ยนสีใหม่

           สีน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เนื้อที่บดแล้วอย่างละเอียด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบิค ซึ่งสกัดมาจากต้นอะคาเซีย ( Acacia tree ) กาวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ละลายน้ำง่ายและเกาะติดกระดาษแน่น ทั้งยังมีลักษณะโปร่งใสอีกด้วย


คุณสมบัติของสีน้ำ

                      1) สีน้ำเป็นสีที่มีลักษณะโปร่งใส เห็นเนื้อสีบางเบา เมื่อระบายสีน้ำลงบนกระดาษจะเห็นความใสของสีบนพื้นผิวกระดาษ

                  2) การกระบายสีน้ำจะต้องรู้จักการรอคอยจังหวะเวลา เพื่อกำหนดความชุ่มเปียก ความหมาดของพื้นผิวกระดาษในขณะที่ระบายสี เพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการ

                     3) เมื่อต้องการให้สีดูสดใสชุ่มฉ่ำก็ให้ระบายสีน้ำสะอาดลงบนพื้นผิวกระดาษก่อนพอหมาด ๆ แล้วจึงลงสี สีที่ลงไปจะซึมเห็นความใสสวยงาม

                     4) ส่วนใดของภาพที่สว่างเป็นสีอ่อนก็ผสมกับน้ำมากขึ้น หรือเว้นเป็นที่ว่างขาวไว้



1.ลักษณะโปร่งใส  Transparent Quality )
----- เนื่องจากสีน้ำมีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายน้ำบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีน้ำจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซ้ำกัน เพราะจะทำให้สีช้ำหรอหม่นได้ และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณ๊อาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้น้ำที่ใช้ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้

2. ลักษะเปียกชุ่ม Soft Quality
----- เนื่องจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับน้ำและระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลืนกัน ดังนั้น เมื่อระบายไปแล้วลักษณะของสีที่แห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชุ่มของสี ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ และในบางกรณีที่ใช้สีน้ำระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สีแห้งไปเอง ก็จะเกิดคราบของสี (Sfumato ) ปรากฏให้เห็น ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งศิลปินสีน้ำท่านใดสามารถสร้างสรรค์ให้คราบนั้นน่าดูและมีความหมายขึ้น ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสีน้ำที่มีค่าควรชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง 

3.สีน้ำมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว 
----- เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสมกลีเซอรีนลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้


4.สีน้ำมีคุณสมบัติรุกรามและยอมรับ Advance, Receda )

 ----- ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับเนื้อสีและสารเคมีที่ผสม ซึ่งผู้สนใจจะต้องสอบทานด้วยตนเองว่าสีใดที่มีคุณสมบัติรุกรานสีอื่น หรือสีใดยอมให้สีอื่นรุกราน และสีใดที่ติดกระดาษแน่นล้างน้ำไม่ออก        
Stained Color )

แม่สีระบบต่างๆ

แม่สีระบบต่างๆ


 1.แม่สีจิตวิทยา  
          แม่สีจิตวิทยา เป็นสีในกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก และมีผลต่อจิตใจของมนุษย์    กล่าวคือสีที่เราพบเห็นจะสามารถโน้มน้าวชวนให้รู้สึกตื่นเต้น โศกเศร้า โดยมากมักใช้ในการรักษาคนไข้ได้ เช่นโรคประสาท หรือโรคทางจิต แม่สีจิตวิทยาสี 4 สีประกอบด้วย สีแดง  สีเหลือง  สีเขียว และสีน้ำเงิน
 2. แม่สีวิทยาศาสตร์
          แม่สีวิทยาศาสตร์เป็นสีที่เกิดจากการสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น สีของหลอดไฟ สีที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม ที่เกิดจากการสะท้อนและการหักเหของแสง แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแสด  สีเขียวมรกต  และสีม่วง
3. แม่สีศิลปะ
          แม่สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆ ไปซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมากมายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์  ผลงานที่สวยงามได้ แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแดง  สีเหลือง และสีน้ำเงิน

องค์ประกอบทัศนธาตุ

องค์ประกอบทัศนธาตุ
          ทัศนธาตุ (Visual Elements)  ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง  ส่วนประกอบของศิลปะที่รวมกันเป็นรูปร่างของสิ่งหลายอย่างที่มองเห็นได้  ประกอบไปด้ว
          1. จุด (Dot)  หมายถึง  รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ  ปรากฎที่พื้นผิว  ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด 
          จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ  เช่น  นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น  และการนำจุดมาวาง
ให้เหมาะสม  ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้   

          2. เส้น (Line)  เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้  เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะทุกแขนง ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปภาพ 
          เส้น (Line)  หมายถึง  การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว  หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด 
เขียน ลาก  ให้เกิดเป็นริ้วรอย 
               - เส้นนอน  ให้ความรู้สึกกว้างขวาง  เงียบสงบ  นิ่ง  ราบเรียบ  ผ่อนคลายสายตา
               - เส้นตั้ง  ให้ความรู้สึกสูงสง่า  มั่นคง  แข็งแรง  รุ่งเรือง
               - เส้นเฉียง  ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  เคลื่อนไหว  รวดเร็ว  แปรปรวน
               - เส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนไหว  สุภาพอ่อนโยน  สบาย  นุ่มนวล  เย้ายวน
               - เส้นโค้งก้นหอย  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  การคลี่คลาย  ขยายตัว  มึนงง
               - เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา  ให้ความรู้สึกรุนแรง  กระแทกเป็นห้วง ๆ  ตื่นเต้น  สับสนวุ่นวาย  และการขัดแย้ง
               - เส้นประ  ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง  ไม่มั่นคง  ไม่แน่นอน 



       เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง  ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ  เช่น เส้นโค้งคว่ำลง  ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน  ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า  ผิดหวัง  เสียใจ  แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น  ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี  เป็นต้น 

           3. รูปร่างและรูปทรง           รูปร่าง (Shape)  หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ  มีความกว้าง  และความยาว 
          รูปร่าง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ
               - รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  คน  สัตว์  และพืช  เป็นต้น
               - รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน  เช่น  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  และรูปวงกลม  เป็นต้น
               - รูปร่างอิสระ (Free Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์  ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี  ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง  เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  รูปร่างของหยดน้ำ  เมฆ  และควัน  เป็นต้น 
          รูปทรง (Form)  หมายถึง  โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฎแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ  คือมีทั้งส่วนกว้าง  ส่วนยาว  ส่วนหนา
หรือลึก  คือ  จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง  มีเนื้อที่ภายใน  มีปริมาตร  และมีน้ำหนัก  

             4. น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value)  หมายถึง  จำนวนความเข้ม  ความอ่อนของสีต่าง ๆ  และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้  เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ  ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ  เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง 

             5. สี (Colour)  หมายถึง  สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา  ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย  เช่น  ทำให้รู้สึกสดใส  ร่าเริง  ตื่นเต้น  หม่นหมอง  หรือเศร้าซึมได้  เป็นต้น 
 7. สี ( Color ) หมายถึง สีเป็นปรากฏการณ์ของแสงที่ส่องกระทบวัตถุ สะท้อนเข้าสู่ตามนุษย์ 
          สีและการนำไปใช้  
               5.1 วรรณะของสี (Tone)  จากวงจรสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ  คือ
                    - สีวรรณะร้อน  
 ( Warm Tone ) ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน  เช่น  สีเหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม  ส้มแดง  แดง  ม่วงแดง  เป็นต้น  
                         สีแดง           กล้าหาญ อันตราย เร้าใจ สะดุดตา
                         สีเหลือง       สว่างที่สุด บริสุทธิ์ แจ่มใส เลื่อมใส
                         สีส้ม            ร้อนแรง สนุกสนาน รื่นเริง เปรี้ยว
                     - สีวรรณะเย็น  ( Cold Tone )ได้แก่  สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย  เช่น  สีเขียว  เขียวเหลือง  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  เป็นต้น 

                         สีน้ำเงิน       สงบ สุขุม สันติภาพ ภูมิฐาน
                         สีเขียว         ความหวัง สดชื่น ชุ่มชื่น ร่มเย็น
                         สีม่วง           ร่ำรวย โอ่อ่า งอกงาม
                         สีขาว          สะอาด บริสุทธิ์ กระจ่างแจ้ง มั่นคง เบา


                         สีดำ            เศร้า ความตาย หนัก



               5.2 ค่าของสี (Value of colour)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย ๆ จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย ๆ เข้มขึ้นจนมืด
               5.3 สีเอกรงค์ (Monochrome)  หมายถึง  สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว  หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ โดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่  คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ
               5.4 สีส่วนรวม (Tonality)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด  เช่น  การเขียนภาพทิวทัศน์  ปรากฎสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน  เป็นต้น
               5.5 สีที่ปรากฎเด่น  (Intensity) 
               5.6 สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast)  หมายถึง  สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ  เช่น  สีแดงกับสีเขียว  สีน้ำเงินกับสีส้ม  สีม่วงกับสีเหลือง 





น้ำหนักสี ( Tone ) หรือวรรณะของสี หมายถึง ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของสีหรือค่าความอ่อนแก่ของสี ไล่ระดับกันไป เช่น ดำ – เทาเข้ม – เทากลาง – เทาอ่อน – ขาว โทนก็มีผลต่อความรู้สึกคล้ายกับสีนั่นเอง เพียงแต่จะละเอียดอ่อนมากขึ้น มีค่าความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น


น้ำหนักของสี



วงจรสีและสีวรรณะร้อน



วงจรสีและสีวรรณะเย็น


               6. บริเวณว่าง (Space)  หมายถึง  บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาาในกาารจัดองค์ประกอบใดก็ตาม  ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว 

               7. พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย  
 



 

การผสมสีจากแม่สี
          แม่สี มีสามสี ได้แก่ แดง เหลือง น้ำเงิน
                  สีแดง+สีเหลือง = สีส้ม
                  แดง+น้ำเงิน = ม่วง
                  เหลือง + น้ำเงิน = เขียว
การผสมสีของแม่สีหลัก ขั้นที่ 2 
                 แดง + ส้ม = แดงส้ม 
                 แดง + เขียว = น้ำตาล 
                 แดง + ม่วง = ม่วงแดง 
                 น้ำเงิน + ส้ม = น้ำตาล 
                 น้ำเงิน + เขียว = น้ำเงินเขียว 
                 น้ำเงิน + ม่วง = น้ำเงินม่วง 
                 เหลือง + ส้ม = ส้มเหลือง 
                 เหลือง + เขียว = เขียวเหลือง
สีที่เกิดจากการผสมของแม่สีหลักกับสีขั้นที่ 2 ถือเป็นขั้นที่ 3
                 แดง + ขาว = ชมพู 
                 แดง + ดำ = ดำอมแดง 
                 แดง + เงิน = แดงเมทัลลิค 
                 เหลือง + ขาว = ขาวอมเหลือง 
                 เหลือง + ดำ = ดำอมเหลือง 
                 เหลือง + เงิน = เหลืองเมทัลลิค 
                 น้ำเงิน + ขาว = ฟ้า 
                 น้ำเงิน + ดำ = ดำอมน้ำเงิน 
                 น้ำเงิน + เงิน = น้ำเงินเมทัลลิค

ทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์  เป็นส่วนหนึ่งของวิจิตรศิลป์  ซึ่งเป็นศิลปะที่เน้นคุณค่าทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ
       ทัศนศิลป์  มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Visual Art  หมายถึง  ศิลปะที่มองเห็น  หรือศิลปะที่สามารถสัมผัส  รับรู้  ชื่นชมด้วยประสาทตา สัมผัสจับต้องได้  และกินเนื้อที่ในอากาศ
       ทัศนศิลป์  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่  จิตรกรรม  ประติมากรรม  และสถาปัตยกรรม

องค์ประกอบของทัศนศิลป์ 
                องค์ประกอบของทัศนศิลป์  ทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่มีที่มาและต้องรับรู้จากการมองเห็นเป็นศิลปะที่อาศัยพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงาน จึงประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่เป็นมูลฐาน 8 ประการ คือ
                1. เส้น(line) หมายถึงจุดหลาย ๆ จุดที่เคลื่อนที่ต่อเนื่องไปในที่ว่างเปล่าจากทิศทางการเคลื่อนที่ต่าง ๆ  กัน เส้นถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับแรก ของการจัดภาพและออกแบบงานทัศนศิลป์  นอกจากนั้นเส้นที่มีทิศทางต่างๆ กันยังมีอิทธิพลต่อความรู้สึกในการมองได้ เช่น  
                       เส้นตั้งฉาก      ให้ความรู้สึก สูง เด่น สง่า มั่นคง แข็งแรง
                       เส้นระดับ       ให้ความรู้สึก สงบ แน่นอน
                       เส้นทะแยง       ให้ความรู้สึก แสดงความเร็ว ความไม่มั่งคง
                       เส้นโค้ง         ให้ความรู้สึก อ่อนน้อม เศร้า ผิดหวัง
                       เส้นคด              ให้ความรู้สึก แสดงการเคลื่อนไหวอย่างอ่อนช้อย
                       เส้นประ        ให้ความรู้สึก แสดงความไม่แน่นอน ลังเล แตกแยก 
            
                  2.รูปร่าง   หมายถึงการบรรจบกันของเส้นที่เป็นขอบเขตของวัตถุที่มองเห็นเป็น2มิติคือ  มีความกว้างและความยาว 2 ด้านเท่านั้น รูปร่างในงานทัศนศิลป์มีอยู่ 2 ลักษณะดังนี้ รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้นรูปร่างไม่ธรรมดาได้แก่รูปร่างจากธรรมชาติและรูปร่างที่เกิดการการคิดดัดแปลง
ของศิลปินอย่างอิสระ 
                  3.รูปทรง(form) หมายถึงรูปลักษณะที่มองเห็นเป็น3 มิติคือมีความกว้างความยาวและความหนาลึกประกอบด้วยรูปทรง 2 ลักษณะ ได้แก่รูปทรงพื้นฐานและรูปทรงไม่ธรรมดาเช่นเดียวกับรูปร่าง (Shape)  ต.ย. ลักษณะหนึ่งของรูปทรง

                   4.ช่องว่าง(space) หมายถึง บริเวณที่ว่างเปล่าที่เรียกกันว่า "ช่องไฟ" ช่องว่างในงานทัศนศิลป์แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ  ช่องว่างจริงหรือช่องว่างกายภาพ เป็นช่องว่างในงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่สัมผัสได้จริง
ช่องว่างลวงตาเป็นช่องว่างในงานจิตรกรรมหรือภาพพิมพ์ที่แสดงความลึกตื้นด้วยการลวงตา
ซึ่งสัมผัสไม่ได 

                  5.พื้นผิว(Texture) คุณลักษณะต่าง ๆ ของผิวด้านหน้าของวัตถุทุกชนิดที่มีลักษณะต่าง ๆ กันเช่นเรียบขรุขระเป็นมันวาวด้านเป็นต้น ลักษณะของพื้นผิวที่ปรากฏแก่สายตานั้นจะมีผลต่อประสาทแห่งความรู้สึกของผู้มองได้  
            
                  6.มวล(Mass) หมายถึงปริมาตรของวัตถุทั้งหมดที่รวมกันอยู่ในรูปทรงของงานทัศนศิลป์ที่มีลักษณะทึบต้นซึ่งส่วนมากพบในงานประติมากรรม และสถาปัตยกรรม   

                    7.สี(colour) หมายถึงลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นสีต่างกันสีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกเมื่อมองเห็น และทำให้เกิดอารมณ์ สะเทือนใจต่าง ๆ สีที่นำมาสร้างผลงานทางทัศนศิลป์เกิดจากการผสมสีต่าง ๆ เข้าด้วยกันตามทฤษฏีสี สี

รายวิชา ศิลปะ ม.3

สถาปัตยกรรมของไทย

            ไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมในการก่อสร้างอาคารที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยมาแต่โบราณ เห็นได้จากการก่อสร้างปราสาท สถูป เจดีย์ ปรางค์ โบสถ์ วิหาร ตลอดจนเรือนไทย

ประเภทของสถาปัตยกรรมไทย ได้แก่

            1. ปราสาท ในสมัยโบราณไม่ปรากฏรูปร่างว่าเป็นอย่างไร เท่าที่พอจะเดารูปร่างลักษณะได้ก็ต้องอาศัยเรื่องราวต่างๆ ประกอบ เช่น ปราสาทปิดทองอร่ามตาของพระเจ้าปราสาททอง เป็นต้น แต่หลักฐานที่พอจะเชื่อได้แน่ก็คือ บรรดาปราสาทในสมัยรัตนโกสินทร์ในระยะแรกสร้างกรุงเทพมหานคร โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเลียนแบบอย่างปราสาทในสมัยอยุธยามาสร้าง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ก็สร้างตามแบบอย่างพระที่นั่งสรรเพชญที่มี “มุขเด็จ” (มุขสำหรับเสด็จออก) อยู่ด้านหน้าเหมือนกัน             ปราสาท หมายถึง เรือนที่มียอด เข้าใจว่าตั้งแต่แรกสร้างคงเป็นไม้ ในภายหลังเมื่อบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วจึงแก้ไขให้ทนทานถาวรขึ้นกว่าเดิม ในการที่จะกล่าวถึงเรื่องของปราสาทนี้น่าจะรู้ถึงพระราชวัง พระราชฐาน และพระราชมณเฑียร ประกอบด้วย พระราชวังเป็นคำที่หมายถึง “พระบรมมหาราชวัง” ทั้งหมด แต่คำว่า พระราชฐาน หมายถึง การแบ่งส่วนภายในพระราชวัง เช่น พระราชฐานชั้นนอก พระราชฐานชั้นใน เป็นต้น ส่วนคำว่า พระมหามณเฑียร จะหมายถึงเฉพาะที่ประทับส่วนพระองค์มากกว่า
             นอกจากนี้ยังมีคำว่า พระที่นั่ง ซึ่งหมายถึง สถานที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงใช้สำหรับทั้งส่วนพระองค์และส่วนราชการบ้านเมือง เรียกพระนั่งต่างๆ ตามชื่อที่ตั้ง แต่ที่ควรสังเกต คือ พระที่นั่งองค์ใดมียอด เรียกว่า ปราสาท เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท แต่ถ้าเป็นพระที่นั่งองค์ที่ไม่สำคัญ แม้ว่าจะมียอดก็ไม่เรียกว่าปราสาท เช่น พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ พระที่นั่งศิวาลัย พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ ก็ไม่ออกชื่อปราสาท
            การสร้างปราสาทในสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์นิยมทรงสร้างทุกพระองค์ ดังนี้
                 - พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1
                 - พระที่นั่งมหิศรปราสาท รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเพื่ออุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                 - พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3
                 - พระที่นั่งศิวาลัย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นพระที่นั่งปราสาทห้ายอด
                 - พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างในรัชกาลที่ 5
            2. เจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้ระลึกถึงทางธรรม หรือระลึกถึงพระพุทธเจ้า เจดีย์ทางพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 4 อย่าง คือ
                 2.1 บริโภคเจดีย์ คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าใช้สอยอยู่เป็นประจำ เช่น บาตร จีวร ซึ่งหาไม่ได้แล้ว และยังมีต้นไม้ต่างๆ เช่น ต้นจิก ต้นเกตุ ต้นโพธิ์ นอกจากนี้ยังได้แก่สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา ปรินิพพาน และที่ถวายพระเพลิง
                 2.2 ธาตุเจดีย์ คือ พระอัฐิ พระเกศา พระนขาของพระพุทธเจ้าซึ่งสร้างเพื่อเคารพกราบไหว้หรือเป็นเจดีย์ที่เรียกกันว่า พระปฐมเจดีย์ ที่จังหวัดนครปฐม พระบรมมหาธาตุ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพระอัฐิของพระพุทธเจ้าบรรจุอยู่
                 2.3 ธรรมเจดีย์ คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ให้ระลึกถึงว่าเมื่อท่านอยู่ท่านสั่งสอนอะไรบ้าง
                 2.4 อุเทสิกเจดีย์ คือ สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศในพระพุทธศาสนา
            เจดีย์มีส่วนประกอบ 3 อย่าง คือ
                 1. องค์เจดีย์ บางทีเรียกว่า ระฆัง หมายถึง การก่อพูนอิฐหรือหินให้เป็นเนินกลมๆ ซึ่งมาจากกองเถ้าของฟืนที่เผาศพของคนอินเดีย การถวายพระเพลิงพระศพของพระพุทธเจ้าก็ทำในลักษณะเช่นนี้
                 2. แท่นหรือฐาน ตั้งซ้อนบนองค์สถูปใช้แทนพระพุทธองค์ เพราะสมัยโบราณที่ยังไม่มีพระ พุทธรูปนั้น คนอินเดียได้ใช้แท่นหรือฐานเป็นสิ่งแทนพระพุทธองค์
                 3. ยอด เดิมเป็นฉัตรกลมแบบอินเดีย ใช้ปักบนฐานแสดงว่าพระพุทธเจ้าเป็นรัชทายาทที่มีเกียรติศักดิ์สูง ต่อมาดัดแปลงเป็นยอดเจดีย์ที่เห็นทุกวันนี้
            เจดีย์ในประเทศไทยมี 3 แบบ คือ เจดีย์กลม เจดีย์เหลี่ยม และเจดีย์ย่อมุม เจดีย์องค์สำคัญจะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เพราะเจดีย์เป็นสิ่งที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า จึงนิยมสร้างให้สวยงามมากที่สุดเพื่อให้คนที่ได้พบเห็นเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เจดีย์ที่สำคัญที่สุดในเมืองไทย คือ พระปฐมเจดีย์ ที่จังหวัดนครปฐม
            3. ปรางค์ หรือที่เรียกว่า พระปรางค์ มีอยู่ทั่วไปตามวัดต่างๆ เดิมไม่ใช่ของพระพุทธศาสนา แต่ถือว่าปรางค์เป็นเจดีย์อย่างหนึ่งจึงมีการสร้างในวัดหลายแห่ง เช่น วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) กรุงเทพฯ ปรางค์ของเดิมมีกำเนิดจากสิ่งก่อสร้างของอินเดียอย่างหนึ่ง คือ มีชั้นหลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนชั้นล่างสุดเป็นห้องมีประตู 4 ทิศ สำหรับประดิษฐานรูปศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์ เมื่อชาวอินเดียได้เข้ามาอยู่ที่สุวรรณภูมิก็ได้นำเอาแบบอย่างปรางค์ของอินเดียมาดัดแปลงแก้ไข และสร้างขึ้นในแผ่นดินที่เรียกว่า กัมพูชา ทุกวันนี้ นอกจากนั้นยังมีอีกหลายแห่งในประเทศไทย เช่น ภาคอีสาน เป็นต้น
            ปรางค์แบบขอมที่อยู่ในไทยมีอยู่หลายแห่ง ปรางค์เหล่านี้สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งไทยยังไม่ได้ครอบครองแผ่นดินประเทศไทย คือ ตั้งแต่ราว พ.ศ. 1100 เป็นต้นมา ปรางค์ที่เก่าแก่ คือ ปรางค์สามยอด ที่จังหวัดลพบุรี เป็นปรางค์ที่มีฐานต่ำ ทรงไม่สูงนัก สร้างด้วยศิลาแลง มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง แต่ยังเหลือสิ่งที่แสดงถึงแบบเดิมได้ชัดเจนอยู่ ปรางสามองค์นี้สร้างเรียงกันโดยมีมุขด้านข้างเป็นระเบียงติดต่อกันทั้งสามองค์ ในรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้มีการซ่อมแซมและสร้างสิ่งอื่นเพิ่มเติมขึ้นบ้าง ปัจจุบันยังตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ริมทางรถไฟ ตรงกับศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี
ปรางค์แบบขอมที่สำคัญยังมีอีกหลายแห่ง เช่น ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ในสมัยสุโขทัยเริ่มสร้างอาณาจักรนั้น ปรางค์ขอมยังมีอยู่ในสุโขทัยหลายแห่ง เช่น ที่วัดศรีสวาย ต่อมาจึงมีการสร้างปรางค์ขึ้นบ้าง โดยแก้ไขดัดแปลงจากแบบขอมให้มีลักษณะสวยงามขึ้นตามความรู้สึกและความคิดของคนไทย เช่น ปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ลักษณะปรางค์ของสุโขทัยนั้นเห็นได้ชัดว่า ยกฐานขึ้นสูงกว่าขอม และทำส่วนยอดให้สูงขึ้น มีคูหา 4 ทิศเหมือนกัน และเพิ่มบันไดด้านหนึ่งไว้เพื่อให้ผู้คนขึ้นไปสักการบูชาพระบรมธาตุได้สะดวก
            ต่อมาในสมัยอยุธยา การสร้างปรางค์ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ ได้มีการสร้างปรางค์ขึ้นเป็นรุ่นแรก เช่น ปรางค์ที่วัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้นยังมีปรางค์ที่งดงามอีกองค์หนึ่ง คือ พระปรางค์ที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลักษณะทั่วไปแม้จะมีฐานสูง แต่ก็ทำขึ้นสำหรับพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะแสดงให้เห็นว่าระยะนี้นิยมการสร้างปราสาทคล้ายแบบสุโขทัย คือ เป็นปรางค์องค์เดียว แล้วทำมุขคูหายื่นออกมา มีบันไดขึ้นไปยังมุขคูหานั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้มีการจำลองแบบของขอมมาดัดแปลงแก้ไขและสร้างขึ้น เช่น ที่วัดไชยวัฒนาราม เป็นต้น ที่กล่าวว่า “จำลองแบบของขอม” นั้น หมายถึง การวางแผนผังและการวางรูปเท่านั้น ส่วนสัดหรือรูปทรงตลอดจนส่วนละเอียดได้ออกแบบขึ้นใหม่ จึงสง่างาม และเป็นไปตามอุดมคติของไทย
            ในสมัยสุโขทัยพระปรางค์ที่นิยมสร้างมี 2 อย่าง คือ สร้างเป็นปรางค์ทั้งองค์อย่างหนึ่งและที่นำเอาส่วนยอดไปเป็นยอดปราสาททั้งองค์อย่างหนึ่ง เช่น ปราสาทเทพบิดร
            4. โบสถ์และวิหาร เป็นสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนา โบสถ์เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น การอุปสมบท การถวายกฐิน การฟังพระธรรมเทศนา ส่วนวิหารใช้เฉพาะการจำศีลภาวนา
            โบสถ์ต้องมีเสมาล้อมรอบ เพราะเสมาเป็นหลักแสดงเขตของโบสถ์ซึ่งกำหนดไว้ให้เป็นที่สำหรับพระสงฆ์มาประชุมทำพิธีต่างๆ ในทางศาสนา ส่วนวิหารไม่มีเสมา ทั้งโบสถ์และวิหารจะมีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่อยู่ภายในเสมอ ลักษณะของโบสถ์และวิหารมักมีหลังคาสามเหลี่ยมใหญ่ซ้อนกันหลายชั้น บนยอดหลังคาแต่ละชั้นประกอบด้วย ช่อฟ้า ตัวนาคหรือนาคสะดุ้ง และใบระกา จั่วในหลังคาประดับด้วยภาพหรือลายแกะไม้ บางแห่งเป็นรูปปูนปั้นลงรักปิดทองและประดับกระจก ต่อจากตัวหลังคาที่แท้จริงลงมาก็มีหลังคาปีกนกเสริมต่อลงมาอีก 1 หรือ 2 ชั้น หลังคาสามเหลี่ยมนี้ตั้งอยู่บนผนังและเสา ผนังและเสาตั้งอยู่บนฐานซึ่งมีรูปร่างเหมือนฐานพระพุทธรูป
            5. บ้านไทย เรือนไทย เรือนไทยถูกสร้างให้มีลักษณะเข้ากับสภาพแวดล้อมทางด้านภูมิศาสตร์และสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย ตลอดจนการเอื้ออำนวยของวัสดุที่จะนำมาก่อสร้าง เรือนไทยจึงมีคุณสมบัติที่พิเศษโดยจะมีความเหมาะสมและสัมพันธ์กับสภาพดังกล่าวด้วย
            รูปร่างลักษณะอันแท้จริงของเรือนฝากระดานซึ่งเรียกกันว่า “ฝาประกน”(การนำเอาแผ่นไม้มาเพลาะต่อกันเข้าด้วยวิธีเจาะรางเข้าเหลี่ยมอย่างประณีตและแข็งแรง สิ่งที่น่าอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งก็คือ เรือนไทยไม่ใช้ตะปูตอกไม้ มีแต่ลิ่มที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หลังคาต้องแหลมสูง ชายคางอนขึ้นเล็กน้อย และขื่อมักทำเป็น “ปั้นลม”
            หลังคาของเรือนไทยมักมุงด้วยจากหรือกระเบื้อง ลักษณะของกระเบื้องมีอยู่หลายชนิด การตั้งเสานิยมให้ปลายสอบเข้าหากันพองาม ส่วนหลังคานิยมสร้างทรงสูงระหง มีเชิงชายและต่อพะไลยื่นออกมา เพื่อกันแดดกันฝนไม่ให้สาดเข้ามาภายในได้ พื้นนิยมยกสูงเพื่อให้เดินลอดได้อย่างสบายและลมพัดผ่านได้สะดวก
            เรือนไทยนี้บางทีปลูกแต่เฉพาะหลังเดียว มีชานหน้าไว้สำหรับนั่งเล่นหรือปลูกเป็นเรือน 2 หลังแฝด มีชานกลางที่ เรียกว่า เรือนสองหลังแฝดนอกชานแล่นกลาง หรือปลูกเป็นหลายหลังที่เรียกว่า เรือนหมู่ มีนอกชานขยายออกกว้างเชื่อมติดต่อกันหมดทุกหลัง มีเรือนเล็กๆ หน้าเรือนใหญ่ เรียกว่า หอนั่ง ไว้สำหรับต้อนรับแขกที่ไปมาหาสู่หรือนิมนต์ พระสงฆ์มาฉันหรือประกอบพิธีทำบุญ ตรงกลางมักสร้างเป็น “หอกลาง” ใช้เป็นที่รับประทานอาหารและรับแขกที่สนิท “หอพระ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นที่สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปบูชา “หอนก” ใช้สำหรับพักอาศัยนั่งเล่น นอนเล่น แต่เดิมน่าจะใช้เป็นที่สำหรับแขวนกรงนกเขา ใต้ถุนเรือนเป็นที่วางเครื่องใช้ที่หนักๆ เช่น ครกตำข้าว โม่หิน ครกหิน หูกทอผ้า และเครื่องปั่นด้าย